เมื่อรถเข็นเป็นขาของฉัน

- ชื่อหนังสือเมื่อรถเข็นเป็นขาของฉัน
-
หมวดหมู่
- หนังสือปันกันอ่าน
เมื่อรถเข็นเป็นขาของฉัน
ฟรานซ์ – โยเซฟ ฮูไอนิจจ์ (เรื่อง) / เฟเรนา บัลล์เฮาส์ (ภาพ) / มนตรา (แปล) น้านกฮูก (เรียบเรียง) จากเรื่อง The Wheel Chair Became My Legs (ออสเตรีย)
สำนักพิมพ์แฮปปี้คิดส์, พิมพ์ครั้งที่ 3, 2552
ปกแข็ง 28 หน้า (22 x 30 ซม.), 195 บาท
ชื่อเรื่องและภาพปกของหนังสือเล่มนี้ บอกให้รู้ว่าเป็นเรื่องของเด็กพิการ เป็นเรื่องราวของเด็กพิการคนหนึ่งที่บอกเล่าความรู้สึกนึกคิดแทนเด็กพิการทั่วไปได้เป็นอย่างดี เหมาะอย่างยิ่งที่เด็กทั้งหลายจะได้อ่านเพื่อรู้จักและเข้าใจเด็กที่ทำอะไรได้สารพัดอย่าง แม้ว่าเธอจะนั่งบนรถเข็นและมีรถเข็นทำหน้าที่เป็นขาของเธอ
เมื่อรถเข็นเป็นขาของฉัน เล่าถึงมุมมองและความรู้สึกของเด็กหญิงที่ต้องใช้ชีวิตอยู่บนรถเข็น สายตาและการจับจ้องจากผู้คนในสังคม รวมทั้งการเสนอความช่วยเหลือต่างๆ เป็นสิ่งที่มาร์กิทไม่ชอบใจนัก เพราะเธอคิดว่าเธอทำอะไรเองได้ตั้งหลายอย่าง ไม่จำเป็นต้องรับความช่วยเหลือจากใคร เธออยากให้ผู้คนมองเธอเหมือนเด็กปกติทั่วไป
แต่เหตุการณ์และความรู้สึกเช่นนั้นก็เปลี่ยนไป เมื่อเธอได้พบกับเด็กผู้ชายอ้วนที่ติดอยู่กับความรู้สึกว่าตนเองไม่เหมือนคนอื่น นั่นคือ ซีจี
เมื่อเด็กพิเศษสองคนได้มาพบกัน มาร์กิทได้แสดงให้ซีจีเห็นว่าการเป็นคนที่แตกต่างไม่ได้หมายความว่าเราผิดปกติ ขณะที่ซีจีก็ได้สอนให้มาร์กิทแสดงความอ่อนโยนหรือหัดร้องขอความช่วยเหลือจากผู้คนรอบข้างบ้าง เพราะนั่นไม่ได้แปลว่าเธออ่อนแอ มิตรภาพทั้งสองจึงเผื่อแผ่ไปถึงคนรอบข้างที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างได้
…ตอนนี้ มาร์กิทเบิกบานและสุขใจเหลือเกิน
เธอไม่คิดมากและไม่สนใจอะไรอีกต่อไปแล้วล่ะ
หนังสือเรื่องนี้เขียนจาก “ใจ” ของนักเขียนที่เป็นคนพิการที่ต้องใช้รถเข็น ทำให้สื่อสารเพื่อบอกแก่คนทั่วไปได้เป็นอย่างดี ว่าอยากให้มีมุมมองอย่างไรต่อคนพิการ เพื่อจะสื่อสารสัมพันธ์กับคนพิการอย่างคนเหมือนกันแม้จะมีความแตกต่างกันบ้าง เช่นเดียวกับที่คนทั่วไปก็มีความเหมือนและความต่างกัน ภาพที่สร้างสรรค์เพื่อหนังสือเล่มนี้มีชีวิตชีวา โดดเด่นด้วยลายเส้นที่ดูครื้นเครง
“หน้าต่างแห่งโอกาส” ในบานที่ว่าด้วยทักษะการสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล สำหรับการเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจและสื่อสารกับเด็กหรือคนพิการ ดูจะไม่ใช่เป็นปัญหาสำหรับเด็กเท่านั้น ในหนังสือเล่มนี้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าผู้ใหญ่ มีปัญหามากกว่าเด็กด้วยซ้ำไป เช่น เด็กเล็กๆ คนหนึ่งเข้ามาถามมาร์กิทว่า “นี่อะไร” เธอยังไม่ทันจะตอบว่า “รถเข็น” แม่ของเด็กคนนั้นก็รีบร้องห้ามว่าถามอย่างนั้นได้ยังไง หรือคนชราคู่หนึ่งก็พูดเสียงดังว่า “โถ..น่าสงสาร” เด็กหญิงไม่ชอบและไม่เข้าใจว่าทำไมใครๆ ถึงทำแบบนี้กับเธอ ฯลฯ หนังสือเล่มนี้จึงได้โน้มนำให้เข้าใจและรู้วิธีที่เหมาะสมในการสื่อสารกับเด็กที่แม้จะพิการ ก็มีความรู้สึกนึกคิดเช่นเดียวกับเด็กอื่นๆ นั่นแหละ
และสำหรับเด็กพิการ หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้รู้วิธีการที่จะสื่อสารกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี อย่างมาร์กิท เธอพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า “ฉันเป็นคนพิการจ้ะ” เธอบอกผู้ที่ช่วยเหลือเธอราวกับเธอทำอะไรเองไม่ได้เลย ว่าเธอทำเองได้ และบางครั้งเธอก็ขอความช่วยเหลือจากคนอื่นบ้างเมื่อจำเป็น การมีเพื่อนที่เข้าใจกัน และไม่ใส่ใจกับพฤติกรรมของคนอื่นๆ มากเกินไป จะช่วยให้เด็กพิการมีความมั่นใจ และก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างสง่างามด้วยรถเข็นของตน
เมื่อรถเข็นเป็นขาของฉัน เล่าถึงมุมมองและความรู้สึกของเด็กหญิงที่ต้องใช้ชีวิตอยู่บนรถเข็น สายตาและการจับจ้องจากผู้คนในสังคม รวมทั้งการเสนอความช่วยเหลือต่างๆ เป็นสิ่งที่มาร์กิทไม่ชอบใจนัก เพราะเธอคิดว่าเธอทำอะไรเองได้ตั้งหลายอย่าง ไม่จำเป็นต้องรับความช่วยเหลือจากใคร เธออยากให้ผู้คนมองเธอเหมือนเด็กปกติทั่วไป
แต่เหตุการณ์และความรู้สึกเช่นนั้นก็เปลี่ยนไป เมื่อเธอได้พบกับเด็กผู้ชายอ้วนที่ติดอยู่กับความรู้สึกว่าตนเองไม่เหมือนคนอื่น นั่นคือ ซีจี
เมื่อเด็กพิเศษสองคนได้มาพบกัน มาร์กิทได้แสดงให้ซีจีเห็นว่าการเป็นคนที่แตกต่างไม่ได้หมายความว่าเราผิดปกติ ขณะที่ซีจีก็ได้สอนให้มาร์กิทแสดงความอ่อนโยนหรือหัดร้องขอความช่วยเหลือจากผู้คนรอบข้างบ้าง เพราะนั่นไม่ได้แปลว่าเธออ่อนแอ มิตรภาพทั้งสองจึงเผื่อแผ่ไปถึงคนรอบข้างที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างได้
…ตอนนี้ มาร์กิทเบิกบานและสุขใจเหลือเกิน
เธอไม่คิดมากและไม่สนใจอะไรอีกต่อไปแล้วล่ะ
หนังสือเรื่องนี้เขียนจาก “ใจ” ของนักเขียนที่เป็นคนพิการที่ต้องใช้รถเข็น ทำให้สื่อสารเพื่อบอกแก่คนทั่วไปได้เป็นอย่างดี ว่าอยากให้มีมุมมองอย่างไรต่อคนพิการ เพื่อจะสื่อสารสัมพันธ์กับคนพิการอย่างคนเหมือนกันแม้จะมีความแตกต่างกันบ้าง เช่นเดียวกับที่คนทั่วไปก็มีความเหมือนและความต่างกัน ภาพที่สร้างสรรค์เพื่อหนังสือเล่มนี้มีชีวิตชีวา โดดเด่นด้วยลายเส้นที่ดูครื้นเครง
“หน้าต่างแห่งโอกาส” ในบานที่ว่าด้วยทักษะการสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล สำหรับการเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจและสื่อสารกับเด็กหรือคนพิการ ดูจะไม่ใช่เป็นปัญหาสำหรับเด็กเท่านั้น ในหนังสือเล่มนี้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าผู้ใหญ่ มีปัญหามากกว่าเด็กด้วยซ้ำไป เช่น เด็กเล็กๆ คนหนึ่งเข้ามาถามมาร์กิทว่า “นี่อะไร” เธอยังไม่ทันจะตอบว่า “รถเข็น” แม่ของเด็กคนนั้นก็รีบร้องห้ามว่าถามอย่างนั้นได้ยังไง หรือคนชราคู่หนึ่งก็พูดเสียงดังว่า “โถ..น่าสงสาร” เด็กหญิงไม่ชอบและไม่เข้าใจว่าทำไมใครๆ ถึงทำแบบนี้กับเธอ ฯลฯ หนังสือเล่มนี้จึงได้โน้มนำให้เข้าใจและรู้วิธีที่เหมาะสมในการสื่อสารกับเด็กที่แม้จะพิการ ก็มีความรู้สึกนึกคิดเช่นเดียวกับเด็กอื่นๆ นั่นแหละ
และสำหรับเด็กพิการ หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้รู้วิธีการที่จะสื่อสารกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี อย่างมาร์กิท เธอพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า “ฉันเป็นคนพิการจ้ะ” เธอบอกผู้ที่ช่วยเหลือเธอราวกับเธอทำอะไรเองไม่ได้เลย ว่าเธอทำเองได้ และบางครั้งเธอก็ขอความช่วยเหลือจากคนอื่นบ้างเมื่อจำเป็น การมีเพื่อนที่เข้าใจกัน และไม่ใส่ใจกับพฤติกรรมของคนอื่นๆ มากเกินไป จะช่วยให้เด็กพิการมีความมั่นใจ และก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างสง่างามด้วยรถเข็นของตน