เป๊าะแป๊ะ อย่าใช้เยอะแยะ

- ชื่อหนังสือเป๊าะแป๊ะ อย่าใช้เยอะแยะ
-
หมวดหมู่
- หนังสือปันกันอ่าน
เป๊าะแป๊ะ อย่าใช้เยอะแยะ
อรอนงค์ บุญเพ็ง (เรื่อง) / ณัฐพัชร ศิรพล (ภาพ)
สำนักพิมพ์พาส แอท คิดส์, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2552
ปกอ่อน 24 หน้า (รวมปก) (20 x 20 ซม.), 75 บาท
“ป่าโล้นไป จะทำอย่างไรดี” เป็นปัญหาใหญ่ ที่นำมาสอนเด็กผ่านนิทานว่าด้วยป่าดินสอ ที่เด็กๆ ใช้อย่างทิ้งขว้าง ต้องหากลวิธีสอนเด็กให้รู้จักใช้ อย่าใช้เยอะแยะ หนังสือเล่มนี้ใช้ถ้อยคำเล่าเรื่องที่เล่นกับสระ “แอะ” ตลอดทั้งเล่ม สนุกกับเรื่องและคำที่นำมาใช้เล่าเรื่อง
เรื่องราวมีอยู่ว่า ณ ดินแดนป่าดินสออันแสนไกล เหล่าคนแคระผู้ดูแลรักษาป่าดินสอพากันเข้าเฝ้าเทวดาเพื่อขอคำชี้แนะ เนื่องจากผืนป่าเริ่มหมดไปเพราะเด็กๆ ใช้ดินสอกันทิ้งๆ ขว้างๆ อย่างไม่รู้คุณค่า
เทวดาจึงมาพบคุณครูนกฮูก บอกเล่าความทุกข์ใจของกลุ่มคนแคระพร้อมกับนำดินสอมาให้หนึ่งกระบุงใหญ่ ไว้แจกเด็กๆ เทวดาตกลงกับครูนกฮูกว่า ถ้าเทวดากลับมาอีกครั้งแล้วยังมีดินสอเหลืออยู่ เทวดาจะให้พรข้อหนึ่ง แต่ไม่ให้ครูนกฮูกบอกเด็กๆ เรื่องนี้
เมื่อโรงเรียนเปิดเทอม ครูนกฮูกก็แจกดินสอให้เด็กๆ คนละแท่งและขอให้เด็กๆ ใช้กันอย่างประหยัด แต่ผ่านไปไม่นาน เด็กชายช้างเหลาดินสอออกแรงมากเกินไป ดินสอก็เลยหักดังเป๊าะแป๊ะ ลิงทำดินสอหล่นพื้น ดินสอก็หักแปะ ส่วนกวางชอบดินสอสวยหรู หยิบมานั่งแทะ แล้วหยิบแท่งใหม่ที่สวยกว่าแยะมาใช้ ส่วนหมีเห็นดินสอสั้นไม่ยอมแตะ ไปหาเอาใหม่ที่ป่าคนแคระ
ในชั้นเรียนมีเพียงกระต่ายเท่านั้น ที่แม้ดินสอจะเหลือสั้นอย่างไรก็ยังคงใช้อยู่ ประหยัดดีแฮะ
เวลาผ่านไป เทวดามาปรากฏตัวอีกครั้ง ปรากฏว่าดินสอของเด็กๆ ต่างก็สูญหาย ไม่มีใครเหลือดินสอเลยนอกจากกระต่าย เทวดาดีใจที่กระต่ายรู้จักใช้ดินสอแม้จะเหลือเพียงแท่งสั้นๆ แล้วก็ตาม เทวดาก็เลยให้พรกระต่ายหนึ่งข้อ ให้วาดอะไรก็ได้หนึ่งอย่างแล้วสิ่งนั้นจะเป็นจริง
กระต่ายจึงวาดรูปป่าดินสอที่อุดมสมบูรณ์ ต้นดินสอก็เลยกลับมาเต็มป่าของคนแคระอีกครั้ง พวกคนแคระต่างพากันดีใจ “สุขใจได้ป่ากลับคืน ร้องเพลงครึกครื้นตบแผละ ตบแผละ” ส่วนเด็กๆ ก็ให้สัญญาว่าต่อไปจะรู้จักประหยัดใช้สิ่งของ “มั่นรักษาป่า(ดินสอ) ไม่เหลาะไม่แหละ”
ลักษณะภาพในหนังสือเล่มนี้คล้ายแบบวาดด้วยสีน้ำมัน สีสันฉูดฉาด เล่นกับตัวหนังสือให้ดูเหมือนกระโดดโลดเต้นได้ โดยเฉพาะตัวที่เป็นสระ “แอะ” ที่ปรากฏอยู่ในทุกหน้า หน้าละหลายพยางค์ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องของการประหยัด มัธยัสถ์ ซึ่งเป็นคุณค่าคุณธรรมใน “หน้าต่างแห่งโอกาส” ที่พ่อแม่สามารถสร้างเสริมให้แก่เด็กได้ในช่วงปลายปฐมวัย และเสริมให้หนักแน่นยิ่งขึ้นในช่วงประถมศึกษาต่อไป ด้วยการเรียนรู้จากชีวิตจริง จากการปฏิบัติจริงในกิจวัตรประจำวัน เช่น ในการใช้จ่ายเงิน ต้องรู้จักประหยัด อดออม รู้จักค่าของเงิน การได้อ่านหนังสือเด็กที่ดี มีวิธีการสอนอย่างแนบเนียนนับเป็นการนำทางที่ดี แต่ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับสิ่งที่เด็กได้เห็นจากการประพฤติของผู้ใหญ่
เรื่องราวมีอยู่ว่า ณ ดินแดนป่าดินสออันแสนไกล เหล่าคนแคระผู้ดูแลรักษาป่าดินสอพากันเข้าเฝ้าเทวดาเพื่อขอคำชี้แนะ เนื่องจากผืนป่าเริ่มหมดไปเพราะเด็กๆ ใช้ดินสอกันทิ้งๆ ขว้างๆ อย่างไม่รู้คุณค่า
เทวดาจึงมาพบคุณครูนกฮูก บอกเล่าความทุกข์ใจของกลุ่มคนแคระพร้อมกับนำดินสอมาให้หนึ่งกระบุงใหญ่ ไว้แจกเด็กๆ เทวดาตกลงกับครูนกฮูกว่า ถ้าเทวดากลับมาอีกครั้งแล้วยังมีดินสอเหลืออยู่ เทวดาจะให้พรข้อหนึ่ง แต่ไม่ให้ครูนกฮูกบอกเด็กๆ เรื่องนี้
เมื่อโรงเรียนเปิดเทอม ครูนกฮูกก็แจกดินสอให้เด็กๆ คนละแท่งและขอให้เด็กๆ ใช้กันอย่างประหยัด แต่ผ่านไปไม่นาน เด็กชายช้างเหลาดินสอออกแรงมากเกินไป ดินสอก็เลยหักดังเป๊าะแป๊ะ ลิงทำดินสอหล่นพื้น ดินสอก็หักแปะ ส่วนกวางชอบดินสอสวยหรู หยิบมานั่งแทะ แล้วหยิบแท่งใหม่ที่สวยกว่าแยะมาใช้ ส่วนหมีเห็นดินสอสั้นไม่ยอมแตะ ไปหาเอาใหม่ที่ป่าคนแคระ
ในชั้นเรียนมีเพียงกระต่ายเท่านั้น ที่แม้ดินสอจะเหลือสั้นอย่างไรก็ยังคงใช้อยู่ ประหยัดดีแฮะ
เวลาผ่านไป เทวดามาปรากฏตัวอีกครั้ง ปรากฏว่าดินสอของเด็กๆ ต่างก็สูญหาย ไม่มีใครเหลือดินสอเลยนอกจากกระต่าย เทวดาดีใจที่กระต่ายรู้จักใช้ดินสอแม้จะเหลือเพียงแท่งสั้นๆ แล้วก็ตาม เทวดาก็เลยให้พรกระต่ายหนึ่งข้อ ให้วาดอะไรก็ได้หนึ่งอย่างแล้วสิ่งนั้นจะเป็นจริง
กระต่ายจึงวาดรูปป่าดินสอที่อุดมสมบูรณ์ ต้นดินสอก็เลยกลับมาเต็มป่าของคนแคระอีกครั้ง พวกคนแคระต่างพากันดีใจ “สุขใจได้ป่ากลับคืน ร้องเพลงครึกครื้นตบแผละ ตบแผละ” ส่วนเด็กๆ ก็ให้สัญญาว่าต่อไปจะรู้จักประหยัดใช้สิ่งของ “มั่นรักษาป่า(ดินสอ) ไม่เหลาะไม่แหละ”
ลักษณะภาพในหนังสือเล่มนี้คล้ายแบบวาดด้วยสีน้ำมัน สีสันฉูดฉาด เล่นกับตัวหนังสือให้ดูเหมือนกระโดดโลดเต้นได้ โดยเฉพาะตัวที่เป็นสระ “แอะ” ที่ปรากฏอยู่ในทุกหน้า หน้าละหลายพยางค์ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องของการประหยัด มัธยัสถ์ ซึ่งเป็นคุณค่าคุณธรรมใน “หน้าต่างแห่งโอกาส” ที่พ่อแม่สามารถสร้างเสริมให้แก่เด็กได้ในช่วงปลายปฐมวัย และเสริมให้หนักแน่นยิ่งขึ้นในช่วงประถมศึกษาต่อไป ด้วยการเรียนรู้จากชีวิตจริง จากการปฏิบัติจริงในกิจวัตรประจำวัน เช่น ในการใช้จ่ายเงิน ต้องรู้จักประหยัด อดออม รู้จักค่าของเงิน การได้อ่านหนังสือเด็กที่ดี มีวิธีการสอนอย่างแนบเนียนนับเป็นการนำทางที่ดี แต่ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับสิ่งที่เด็กได้เห็นจากการประพฤติของผู้ใหญ่