พ่อจ๊ะ พ่อจ๋า

- ชื่อหนังสือพ่อจ๊ะ พ่อจ๋า
-
หมวดหมู่
- หนังสือปันกันอ่าน
พ่อจ๊ะ พ่อจ๋า
ปกาศิต สุดใจ (เรื่อง) / ฉัตรสุดา ประเสริฐสุข (ภาพ)
สำนักพิมพ์พาส แอท คิดส์, พิมพ์ครั้งแรก, 2552
ปกอ่อน 24 หน้า (รวมปก) (20 x 20 ซม.), 75 บาท
หนังสือเล่มนี้อยู่ในชุดเดียวกันกับ แม่จ๊ะ แม่จ๋า และ ลูกจ๊ะ ลูกจ๋า ด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือการพัฒนาในเรื่องของการสร้างความผูกพัน ซึ่งโดยประสบการณ์ตรงที่เด็กจากวัยทารกสู่วัยเตาะแตะควรได้รับก็คือ จากการเลี้ยงดูเด็กอย่างใกล้ชิด ให้ความรักความอบอุ่น โดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีบทบาทหน้าที่นี้ก็คือพ่อแม่ ซึ่งเป็นผู้ที่ใกล้ชิดเด็กที่สุด
หนังสือภาพสำหรับเด็ก คือ “สื่อ” เสริมที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง ด้วยแนวคิด “หน้าต่างแห่งโอกาส” ในการพัฒนาเด็ก ซึ่งอิงกับข้อค้นพบด้านพัฒนาการของสมอง พบว่าในวัยแรกเกิด – 2 ปี เด็กน้อยควรจะได้เรียนรู้ในเรื่องของความผูกพัน ด้วยการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด ให้ความรักความอบอุ่น และนี่จะเป็นพื้นฐานของการรู้จักรักและผูกพันกับผู้อื่นในอนาคตต่อไป
พ่อจ๊ะ พ่อจ๋า มีเนื้อหาเล่าถึงลูกสาวตัวน้อยเฝ้าคอยพ่อเลิกงานกลับมาบ้าน เพื่อจะได้เล่นด้วยกัน เมื่อพ่อกลับมาลูกน้อยก็โผเข้าไปกอดพ่อด้วยความคิดถึง สัมพันธภาพที่ใกล้ชิดระหว่างพ่อกับลูก เช่น พ่อหอมทั่วตัวลูกน้อย พ่อร้องเพลงให้ฟัง ให้ลูกนั่งตักเล่นโยกเยก มีปัญหาก็มีพ่อนี่แหละคอยปกป้องห่วงใย ได้อยู่ข้างกายได้ขี่คอพ่อ ช่างมีความสุขจริงๆ
อ้อมอกอบอุ่น
กอดหนุนตักพ่อ
สุขใจจริงหนอ
ไม่ขอสิ่งใด
………..
พ่อจ๊ะ พ่อจ๋า
ไม่ว่าชาติไหน
รักพ่อตลอดไป
หมดใจหนูเลย
คำที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้เป็นคำง่ายๆ ร้อยกรองเป็นกลอนสี่ เด็กตัวน้อยๆ ได้ดูภาพสีหวานๆ หน้าตาชื่นบานทั้งพ่อทั้งลูก ที่มีความรักความผูกพันกัน พร้อมๆ ไปกับฟังเสียงที่ผู้ใหญ่อ่านคำให้ฟัง เด็กจะเพลิดเพลินกับท่วงทำนองของคำคล้องจองได้เป็นอย่างดี แม้ว่าจะไม่ได้เข้าใจความหมายของทุกคำที่ได้ยินได้ฟังก็ตาม ภาพที่ปรากฏต่อสายตา อันแสดงถึงความอบอุ่นและสายใยผูกพันของพ่อกับลูกจะช่วยทำให้เด็กสามารถเชื่อมโยงความรู้สึกต่างๆ จากหนังสือสู่ตนเองได้ จึงเหมาะที่จะให้คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองอ่านให้เด็กๆ ฟัง
หนังสือภาพสำหรับเด็ก คือ “สื่อ” เสริมที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง ด้วยแนวคิด “หน้าต่างแห่งโอกาส” ในการพัฒนาเด็ก ซึ่งอิงกับข้อค้นพบด้านพัฒนาการของสมอง พบว่าในวัยแรกเกิด – 2 ปี เด็กน้อยควรจะได้เรียนรู้ในเรื่องของความผูกพัน ด้วยการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด ให้ความรักความอบอุ่น และนี่จะเป็นพื้นฐานของการรู้จักรักและผูกพันกับผู้อื่นในอนาคตต่อไป
พ่อจ๊ะ พ่อจ๋า มีเนื้อหาเล่าถึงลูกสาวตัวน้อยเฝ้าคอยพ่อเลิกงานกลับมาบ้าน เพื่อจะได้เล่นด้วยกัน เมื่อพ่อกลับมาลูกน้อยก็โผเข้าไปกอดพ่อด้วยความคิดถึง สัมพันธภาพที่ใกล้ชิดระหว่างพ่อกับลูก เช่น พ่อหอมทั่วตัวลูกน้อย พ่อร้องเพลงให้ฟัง ให้ลูกนั่งตักเล่นโยกเยก มีปัญหาก็มีพ่อนี่แหละคอยปกป้องห่วงใย ได้อยู่ข้างกายได้ขี่คอพ่อ ช่างมีความสุขจริงๆ
อ้อมอกอบอุ่น
กอดหนุนตักพ่อ
สุขใจจริงหนอ
ไม่ขอสิ่งใด
………..
พ่อจ๊ะ พ่อจ๋า
ไม่ว่าชาติไหน
รักพ่อตลอดไป
หมดใจหนูเลย
คำที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้เป็นคำง่ายๆ ร้อยกรองเป็นกลอนสี่ เด็กตัวน้อยๆ ได้ดูภาพสีหวานๆ หน้าตาชื่นบานทั้งพ่อทั้งลูก ที่มีความรักความผูกพันกัน พร้อมๆ ไปกับฟังเสียงที่ผู้ใหญ่อ่านคำให้ฟัง เด็กจะเพลิดเพลินกับท่วงทำนองของคำคล้องจองได้เป็นอย่างดี แม้ว่าจะไม่ได้เข้าใจความหมายของทุกคำที่ได้ยินได้ฟังก็ตาม ภาพที่ปรากฏต่อสายตา อันแสดงถึงความอบอุ่นและสายใยผูกพันของพ่อกับลูกจะช่วยทำให้เด็กสามารถเชื่อมโยงความรู้สึกต่างๆ จากหนังสือสู่ตนเองได้ จึงเหมาะที่จะให้คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองอ่านให้เด็กๆ ฟัง