บ้านฟักทอง

- ชื่อหนังสือบ้านฟักทอง
-
หมวดหมู่
- หนังสือปันกันอ่าน
บ้านฟักทอง
สุกัญญา จันทร์เพ็ญ (เรื่อง) / ยศวดี ครุฑกล่อม (ภาพ)
สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก, 2548
ปกแข็ง 24 หน้า (20 x 20 ซม.), 140 บาท
มูลนิธิเด็กเป็นองค์กรหนึ่งที่ดำเนินการประกวดนิทานส่งเสริมจินตนาการเด็กมาอย่างต่อเนื่อง บ้านฟักทอง ได้รับรางวัลด้านภาพดีเด่นจากการประกวดครั้งที่ 8 หนังสือภาพเล่มนี้ให้ภาพของชุมชนชนบทไทย ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน โรงเรียน และท้องทุ่ง ที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รักและสามัคคีกัน เรื่องราวมีดังนี้
ผักบุ้งกับผักกาด เด็กชาย-หญิงสองพี่น้องช่วยพ่อแม่ทำงานในไร่ฟักทอง วันหนึ่งเด็กทั้งสองนำเมล็ดฟักทองมาผึ่งแดด ทั้งคู่พบเมล็ดฟักทองที่มีขนาดใหญ่มากเมล็ดหนึ่ง จึงนำไปปลูกและช่วยกันดูแลรดน้ำพรวนดินทุกวัน
เมล็ดฟักทองโตขึ้นเป็นต้นกล้า สองพี่น้องจดบันทึกการเติบโตของฟักทองแล้วนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ที่โรงเรียนฟัง
ต้นฟักทองโตขึ้นเป็นเถาใหญ่และออกดอกหลายดอก แต่พ่อก็ให้เด็ดดอกอื่นๆ ทิ้งให้เหลือเพียง 2 ดอกเพื่อจะได้ไม่ต้องแย่งอาหารกัน
จากดอกฟักทองกลายเป็นลูกฟักทองที่มีขนาดใหญ่โตกว่าลูกฟักทองต้นอื่นๆ ผักบุ้งกับผักกาดเล่าให้เพื่อนๆ ที่โรงเรียนฟังทุกวันจนเพื่อนๆ อยากเห็น “ฟักทองยักษ์” จึงพากันมาดูด้วยความตื่นเต้น
“ฟักทองยักษ์” ทั้ง 2 ลูก โตวันโตคืน แต่แล้ววันหนึ่ง ผักบุ้งกับผักกาดก็พบว่าฟักทองลูกหนึ่งถูกหนูแทะจนรูโบ๋ พ่อจึงให้ตัดฟักทองลูกนั้นทิ้ง ส่วนอีกลูกที่เหลือก็ใช้ตาข่ายคลุมกันหนู
ฟักทองลูกนั้นแก่จัดและใหญ่โตมาก เด็กทั้งสองอยากให้ฟักทองอยู่ด้วยนานๆ พ่อจึงคิดวิธีเจาะเอาแต่เนื้อในของฟักทองมากิน ส่วนเปลือกฟักทองยักษ์ที่ยังเป็นรูปฟักทองอยู่ก็นำไปตากแห้งให้ผักบุ้งกับผักกาดและเพื่อนๆ เล่นเป็น “บ้านฟักทอง” กันอย่างสนุกสนาน
พวกเด็กๆ ใช้เศษไม้ กระดาษ และดินน้ำมัน ทำเป็นเตียง โต๊ะ เก้าอี้ รวมถึงสัตว์เลี้ยงต่างๆ ตามแต่ใจนึก แล้วยังปั้นตุ๊กตาดินน้ำมันแทนตัวเองไว้ในบ้านฟักทองด้วย
เด็กๆ เล่นกับบ้านฟักทองหลังนี้อย่างมีความสุขทุกวัน ไม่รู้เบื่อเลย
จุดเด่นของการสร้างสรรค์ภาพของหนังสือเล่มนี้อยู่ที่การออกแบบตัวละครให้มีลักษณะแตกต่างกันอย่างละเอียดและน่ารัก ตลอดเรื่องคุมโทนภาพให้เป็นสีเขียวและสีน้ำตาล ให้ดูสงบเย็นแบบสังคมเกษตรกรรม สาระหลักของเรื่องมุ่งหมายให้หนูๆ ผู้อ่านได้เรียนรู้ในเรื่องของการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปันกัน และส่งเสริมจินตนาการ โดยสอดแทรกสาระความรู้เกี่ยวกับฟักทองเข้าไปด้วย หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับเด็กวัย 4-5 ขวบขึ้นไป
ผักบุ้งกับผักกาด เด็กชาย-หญิงสองพี่น้องช่วยพ่อแม่ทำงานในไร่ฟักทอง วันหนึ่งเด็กทั้งสองนำเมล็ดฟักทองมาผึ่งแดด ทั้งคู่พบเมล็ดฟักทองที่มีขนาดใหญ่มากเมล็ดหนึ่ง จึงนำไปปลูกและช่วยกันดูแลรดน้ำพรวนดินทุกวัน
เมล็ดฟักทองโตขึ้นเป็นต้นกล้า สองพี่น้องจดบันทึกการเติบโตของฟักทองแล้วนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ที่โรงเรียนฟัง
ต้นฟักทองโตขึ้นเป็นเถาใหญ่และออกดอกหลายดอก แต่พ่อก็ให้เด็ดดอกอื่นๆ ทิ้งให้เหลือเพียง 2 ดอกเพื่อจะได้ไม่ต้องแย่งอาหารกัน
จากดอกฟักทองกลายเป็นลูกฟักทองที่มีขนาดใหญ่โตกว่าลูกฟักทองต้นอื่นๆ ผักบุ้งกับผักกาดเล่าให้เพื่อนๆ ที่โรงเรียนฟังทุกวันจนเพื่อนๆ อยากเห็น “ฟักทองยักษ์” จึงพากันมาดูด้วยความตื่นเต้น
“ฟักทองยักษ์” ทั้ง 2 ลูก โตวันโตคืน แต่แล้ววันหนึ่ง ผักบุ้งกับผักกาดก็พบว่าฟักทองลูกหนึ่งถูกหนูแทะจนรูโบ๋ พ่อจึงให้ตัดฟักทองลูกนั้นทิ้ง ส่วนอีกลูกที่เหลือก็ใช้ตาข่ายคลุมกันหนู
ฟักทองลูกนั้นแก่จัดและใหญ่โตมาก เด็กทั้งสองอยากให้ฟักทองอยู่ด้วยนานๆ พ่อจึงคิดวิธีเจาะเอาแต่เนื้อในของฟักทองมากิน ส่วนเปลือกฟักทองยักษ์ที่ยังเป็นรูปฟักทองอยู่ก็นำไปตากแห้งให้ผักบุ้งกับผักกาดและเพื่อนๆ เล่นเป็น “บ้านฟักทอง” กันอย่างสนุกสนาน
พวกเด็กๆ ใช้เศษไม้ กระดาษ และดินน้ำมัน ทำเป็นเตียง โต๊ะ เก้าอี้ รวมถึงสัตว์เลี้ยงต่างๆ ตามแต่ใจนึก แล้วยังปั้นตุ๊กตาดินน้ำมันแทนตัวเองไว้ในบ้านฟักทองด้วย
เด็กๆ เล่นกับบ้านฟักทองหลังนี้อย่างมีความสุขทุกวัน ไม่รู้เบื่อเลย
จุดเด่นของการสร้างสรรค์ภาพของหนังสือเล่มนี้อยู่ที่การออกแบบตัวละครให้มีลักษณะแตกต่างกันอย่างละเอียดและน่ารัก ตลอดเรื่องคุมโทนภาพให้เป็นสีเขียวและสีน้ำตาล ให้ดูสงบเย็นแบบสังคมเกษตรกรรม สาระหลักของเรื่องมุ่งหมายให้หนูๆ ผู้อ่านได้เรียนรู้ในเรื่องของการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปันกัน และส่งเสริมจินตนาการ โดยสอดแทรกสาระความรู้เกี่ยวกับฟักทองเข้าไปด้วย หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับเด็กวัย 4-5 ขวบขึ้นไป