มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน Reading Culture Promotion Program

เข้าสู่ระบบ
ลืมรหัสผ่าน

ค้นหา

กิจกรรม

อบรมเชิงปฏิบัติการ “อ่านเพิ่มพลังกาย ลด Learning Loss เด็กปฐมวัย” ในงานอุบลบุ๊กแฟร์   

อบรมเชิงปฏิบัติการ “อ่านเพิ่มพลังกาย ลด Learning Loss เด็กปฐมวัย”                                                   

      เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2566 ณ ห้องทับทิมสยาม 4 ชั้น 5 โรงแรมสุนีย์แกรนด์ จังหวัดอุบลราชธานีนางสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ชวนคิดชวนปฏิบัติการ “อ่านอย่างไรให้ได้ PA (Physical Activity) และเสริม EF (Executive Functioon) Play Worker”  เริ่มด้วยคลิปทฤษฎีหน้าต่างแห่งโอกาส : การบ่มเพาะเด็กให้เกิดความไว้วางใจในการวางรากฐาน “ความเป็นมนุษ” รู้จักถูกผิด การแบ่งปัน ไม่ใช้ความรุนแรง การควบคุมอารมณ์ ก่อนอายุ 6 ขวบสมองของเด็กเติบโตเต็มที่มากกว่า 90% การเลี้ยงลูกในช่วงอายุนี้ เด็กจะจดจำ เลี้ยงอย่างไรจะโตไปเป็นผู้ใหญ่แบบนั้น

เด็กเข้าใจ สื่อสารได้ แม้จะยังพูดไม่ได้ แต่ถ้าเด็กไม่ได้ภาษาจะไม่สามารถเรียนได้ การอ่านจึงมาตอบโจทย์เรื่องนี้ เพียงแค่อ่านอย่างเดียวสามารถเปลี่ยนเด็กได้ การอ่านเป็นฐานรากของการพัฒนาทั้งหมด เด็กสะสมคลังคำศัพท์จากพ่อแม่ ผู้ที่เลี้ยงดู และจากหนังสือที่เป็นภาษาวรรณกรรม อ่านเพื่อสร้างสุขภาวะ เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุดของความสำเร็จในอนาคต การไม่รู้หนังสือเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดอาชญากรรม ทำให้เด็กบางส่วนหลุดออกนอกระบบ

ความสำคัญการเล่น การเล่นบทบาทสมมติ เป็นพื้นฐานแรกของการไว้เนื้อเชื้อใจ การเล่นสร้างการเรียนรู้ และพัฒนาการของเด็กในด้านต่างๆ รวมไปถึงด้านร่างกาย การเคลื่อนไหว ดังนี้จึงควรให้เด็กเล่นและอ่านควบคู่ไปด้วยกันเพื่อพัฒนาการที่ดีขึ้นของเด็ก ที่สำคัญผู้แวดล้อมเด็กต้องมีความเข้าใจด้วย

อาจารย์ชัยฤทธิ์ ศรีโรจน์ฤทธิ์ ที่ปรึกษางานกิจกรรมสร้างสรรค์ มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน  เป็นวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การอ่านเพิ่มพลังกาย ลด Learning Loss เด็กปฐมวัย” โดยเปิดตัวหนังสือนิทาน ร้องเป็นเล่นสนุก เพื่อนำไปสู่กิจกรรมทางกาย - การเคลื่อนไหวประกอบเพลง เด็กได้ฝึกสมาธิ การมอง การฟังและพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก อย่างสนุกสนาน

เกิดผลสำเร็จสำคัญ มีผู้เข้าร่วมเข้าใจเด็กมากขึ้น มีมุมมองที่เปลี่ยนไปในการมองเด็กเล่น เกิดแกนนำส่งเสริมการอ่าน  141 คน ( อสม. , ครู ศพด. ) และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์พัฒนาเด็กของผู้เข้าร่วมอบรม

 

 

แนะนำเมื่อ 14ส.ค. 66
0ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

 

 

กรุณา Login เข้าระบบก่อนแสดงความคิดเห็น หรือสมัครสมาชิกใหม่ คลิกที่นี่

 

 

จำนวนการเข้าชม: 13,357,061 ครั้ง