- ชื่อหนังสือมือไม่ได้มีไว้ตี
- หมวดหนังสือคัดสรรโดยแผนงานฯ
- ผู้เขียนมาร์ทีน แอกัสซี (เรื่อง) / มารีกา ไฮน์เลน (ภาพ) / น้านกฮูก (แปล) จากเรื่อง Hands are not for hitting
- สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์ แฮปปี้คิดส์
มือไม่ได้มีไว้ตี
มาร์ทีน แอกัสซี (เรื่อง) / มารีกา ไฮน์เลน (ภาพ) / น้านกฮูก (แปล) จากเรื่อง Hands are not for hitting (สหรัฐอเมริกา)
สำนักพิมพ์แฮปปี้คิดส์, พิมพ์ครั้งที่ 4, 2551
ปกแข็ง 22 หน้า (Board Book 18 x 18 ซม.), 185 บาท
การใช้ความรุนแรงเป็นสิ่งที่ไม่ดี ผู้ที่ไม่ใช้ความรุนแรงเท่านั้นจึงจะเป็นผู้ที่เรียกร้องสันติภาพได้ ฟังดูเหมือนจะเป็นเรื่องของผู้ใหญ่ เป็นเรื่องมหภาค แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กจะบอกแก่เราว่า หากต้องการผู้ใหญ่ที่เข้าใจเข้าถึงการไม่ใช้ความรุนแรง ต้องปลูกฝังสมาชิกในสังคมตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กๆ หนังสือเล่มนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของสื่อในการสอนเด็ก เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่สร้างสรรค์ ไม่ทำร้ายหรือทำลายใครหรือสิ่งใดจาก “มือ” ของเราเอง
มือใช้ทำสิ่งต่างๆ ได้มากมาย เช่น การโบกมือหรือจับมือทักทาย วาดรูป ใช้จับของเล่น หรืออาจเล่นทำมือเป็นรูปร่างต่างๆ มือยังใช้จับของกินและดื่ม ใช้สวมเสื้อผ้า และใช้ทำความสะอาดร่างกาย
มือไม่ได้มีไว้ตี แต่มีไว้ช่วยเหลือกันและกัน และมือของเด็กๆ นั้น มีไว้กอดคุณพ่อคุณแม่ผู้น่ารัก
เอ้า! โบกมือลากันหน่อย...
มือไม่ได้มีไว้ตี เป็นหนังสือภาพสองภาษา (ไทย-อังกฤษ) ต้องการบอกเด็กๆ ว่าการใช้ความรุนแรงเป็นสิ่งไม่ดี และแนะนำให้เด็กๆ ใช้มือทำในกิจกรรมที่สร้างสรรค์
หนังสือใช้ภาพสองมิติ สีสันหนักแน่น สวยงาม มีตัวละครเด็กๆ หลากหลายเชื้อชาติ ใช้คำน้อย ภาษาง่าย ส่วนใหญ่เป็นคำกริยา ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนการเรียนรู้คำศัพท์ให้เด็กๆ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังนำคำที่ค่อนข้างจะเป็นนามธรรมมาเสนอเป็นภาพให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ชัดเจน เช่น
“ปกป้องคุ้มครอง” พร้อมกับภาพของคุณแม่กำลังจูงมือลูกข้ามถนน หรือ
“ดูแลเอาใจใส่” ก็เป็นภาพของเด็กกำลังใช้มือถูสบู่ ส่วนอีกคนก็กำลังแปรงฟัน
หนังสือใช้กระดาษแข็ง (Board Book) จำนวนหน้าไม่มาก ประกอบกับมีตัวอักษรน้อย เหมาะสำหรับเด็กเล็ก เนื้อหาที่นำเสนอด้วยภาพและถ้อยคำในหนังสือล้วนแต่เสนอภาพในเชิงบวก คือการใช้มือทำกิจกรรมต่างๆ ที่สร้างสรรค์ มีประโยคที่แทรกเข้ามาในการนำเรื่องเป็นระยะๆ ถามเด็กๆ ว่า “มือไม่ได้มีไว้ตี มือมีไว้ทำอะไรบ้างเอ่ย” จากนั้นก็เป็นการแนะนำการใช้มือในทางที่เหมาะสมต่างๆ เด็กๆ สามารถเข้าใจได้ว่าการใช้มือไปตีคนอื่นเป็นสิ่งไม่ดี เป็นสิ่งผิดและไม่พึงปฏิบัติ เปิด“หน้าต่างแห่งโอกาส”ในการเรียนรู้เรื่องการรู้จักผิด-ถูก นั่นคือการใช้ความรุนแรงใดๆก็ตามเป็นสิ่งที่ผิด และส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับเด็ก
มือใช้ทำสิ่งต่างๆ ได้มากมาย เช่น การโบกมือหรือจับมือทักทาย วาดรูป ใช้จับของเล่น หรืออาจเล่นทำมือเป็นรูปร่างต่างๆ มือยังใช้จับของกินและดื่ม ใช้สวมเสื้อผ้า และใช้ทำความสะอาดร่างกาย
มือไม่ได้มีไว้ตี แต่มีไว้ช่วยเหลือกันและกัน และมือของเด็กๆ นั้น มีไว้กอดคุณพ่อคุณแม่ผู้น่ารัก
เอ้า! โบกมือลากันหน่อย...
มือไม่ได้มีไว้ตี เป็นหนังสือภาพสองภาษา (ไทย-อังกฤษ) ต้องการบอกเด็กๆ ว่าการใช้ความรุนแรงเป็นสิ่งไม่ดี และแนะนำให้เด็กๆ ใช้มือทำในกิจกรรมที่สร้างสรรค์
หนังสือใช้ภาพสองมิติ สีสันหนักแน่น สวยงาม มีตัวละครเด็กๆ หลากหลายเชื้อชาติ ใช้คำน้อย ภาษาง่าย ส่วนใหญ่เป็นคำกริยา ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนการเรียนรู้คำศัพท์ให้เด็กๆ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังนำคำที่ค่อนข้างจะเป็นนามธรรมมาเสนอเป็นภาพให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ชัดเจน เช่น
“ปกป้องคุ้มครอง” พร้อมกับภาพของคุณแม่กำลังจูงมือลูกข้ามถนน หรือ
“ดูแลเอาใจใส่” ก็เป็นภาพของเด็กกำลังใช้มือถูสบู่ ส่วนอีกคนก็กำลังแปรงฟัน
หนังสือใช้กระดาษแข็ง (Board Book) จำนวนหน้าไม่มาก ประกอบกับมีตัวอักษรน้อย เหมาะสำหรับเด็กเล็ก เนื้อหาที่นำเสนอด้วยภาพและถ้อยคำในหนังสือล้วนแต่เสนอภาพในเชิงบวก คือการใช้มือทำกิจกรรมต่างๆ ที่สร้างสรรค์ มีประโยคที่แทรกเข้ามาในการนำเรื่องเป็นระยะๆ ถามเด็กๆ ว่า “มือไม่ได้มีไว้ตี มือมีไว้ทำอะไรบ้างเอ่ย” จากนั้นก็เป็นการแนะนำการใช้มือในทางที่เหมาะสมต่างๆ เด็กๆ สามารถเข้าใจได้ว่าการใช้มือไปตีคนอื่นเป็นสิ่งไม่ดี เป็นสิ่งผิดและไม่พึงปฏิบัติ เปิด“หน้าต่างแห่งโอกาส”ในการเรียนรู้เรื่องการรู้จักผิด-ถูก นั่นคือการใช้ความรุนแรงใดๆก็ตามเป็นสิ่งที่ผิด และส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับเด็ก