รำพึง กลิ่นกลาง (2553) นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ได้ทำการวิจัยเรื่องการศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบร่วมกับการบริหารสมอง กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 33 คน ผลการวิจัยพบว่าหลังเรียนด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบร่วมกับการบริหารสมองแล้ว ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของกลุ่มตัวอย่างมีความก้าวหน้าของความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณในภาพรวมนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.15 ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของกลุ่มตัวอย่าง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในส่วนของความสามารถในการอ่านภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างมีความก้าวหน้าความสามารถในการอ่านภาษาไทยในภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 10.03 ความสามารถในการอ่านภาษาไทยของกลุ่มตัวอย่าง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการอ่านภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รำพึง กลิ่นกลาง. (2553). การศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบร่วมกับการบริหารสมอง. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). นครราชสีมา : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : รศ.สิทธิศักดิ์ จุลศิริพงษ์.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบร่วมกับการบริหารสมอง เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบร่วมกับการบริหารสมอง เพื่อศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบร่วมกับการบริหารสมอง และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบร่วมกับการบริหารสมองกับเกณฑ์ร้อยละ 70
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนบ้านขี้ตุ่น (แหล่งจะหลุง) อำเภอโชคชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 2 จำนวน 33 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้เรื่องนอกเมืองในกรุง และหน่วยการเรียนรู้กาเหว่าที่กลางกรุง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบร่วมกับการบริหารสมองจำนวน 20 แผน แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test
ผลการศึกษา พบว่า
1. ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบร่วมกับการบริหารสมองพบว่าก่อนเรียนนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.70 หลังเรียน นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 22.50 ความก้าวหน้าของความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณในภาพรวมนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.15
2. ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบร่วมกับการบริหารสมอง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบร่วมกับการบริหารสมอง พบว่าก่อนเรียนนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.30 หลังเรียนนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 23.33 ความก้าวหน้าความสามารถในการอ่านภาษาไทยในภาพรวมนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 10.03
4. ความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบร่วมกับการบริหารสมอง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบร่วมกับการบริหารสมอง หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05