ธนาพร มูลกัณฐ์ (2556) นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 20 คน ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างมี 4 องค์ประกอบ คือ แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน วัตถุประสงค์ ขั้นตอน การเรียนการสอน และการประเมินผล ซึ่งขั้นตอนการเรียนการสอนมี 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นนำ – ตระหนักรับรู้หน่วยเสียง ขั้น 2 – เชื่อมโยงอักษรและเสียง ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกปฏิบัติอ่านคำศัพท์ ขั้นที่ 4 ขั้นประยุกต์ใช้ – เขียนคำศัพท์ ขั้นที่ 5 ขั้นสรุปผล – เกมภาษา รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.08/85.88 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด และทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษก้าวหน้าขึ้นจากก่อนเรียนร้อยละ 85 และมีความคงทนในการเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษหลังเรียนไม่แตกต่างจากหลังเรียนจบไปแล้ว 2 สัปดาห์ (p>0.05)
ธนาพร มูลกัณฐ์ (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (หลักสูตรและการสอน). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. กรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : ดร.จิระพร ชะโน และ ดร.เกษร ทองแสน.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 4 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) หาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ตามเกณฑ์ 80/80 3) หาดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น 4) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน มีระดับความเหมาะสมมาก (ค่าเฉลี่ย 4.41) 2) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ จำนวน 2 ชุด ชุดละ 5 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.96 และ 3) แบบทดสอบความสามารถในการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ จำนวน 2 ชุด ชุดละ 20 ข้อ มีอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.73 และ 0.20 ถึง 0.82 ตามลำดับ ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับมีค่า 0.97 สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานใช้ The Wlcoxon Matched Pair Signed – Ranks Test
ผลการวิจัยปรากฎดังนี้
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มี 4 องค์ประกอบ คือ แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน วัตถุประสงค์ ขั้นตอน การเรียนการสอน และการประเมินผล ซึ่งขั้นตอนการเรียนการสอนมี 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นนำ – ตระหนักรับรู้หน่วยเสียง ขั้น 2 – เชื่อมโยงอักษรและเสียง ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกปฏิบัติอ่านคำศัพท์ ขั้นที่ 4 ขั้นประยุกต์ใช้ – เขียนคำศัพท์ ขั้นที่ 5 ขั้นสรุปผล - เกมภาษา
2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.08/85.88 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด
3. ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 0.85 นั่นคือรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นทำให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษก้าวหน้าขึ้นจากก่อนเรียนร้อยละ 85
4. ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษหลังเรียนไม่แตกต่างจากหลังเรียนจบไปแล้ว 2 สัปดาห์ (p>0.05)
โดยสรุป รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพ ผู้เรียนที่ได้เรียนรู้ตามรูปแบบนี้สามารถอ่านและเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษได้ อีกทั้งยังมีความคงทนในการเรียนรู้ ดังนั้น จึงสามารถนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน Reading Culture Promotion Program ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ส ส ส.)
ค้นหา
บทความงานวิจัย
หมวดหมู่
เรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
แนะนำเมื่อ
06มี.ค. 58
0ความคิดเห็น
ข่าวสารที่เกียวข้อง
- ครบรอบ 2 ปี หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร ชวนอ่าน ‘1,009 เล่ม วรรณกรรมเกื้อกูลโลก เกื้อกูลมนุษย์’
- มิติใหม่ แพทย์จ่ายหนังสือแทนยาบำบัดอาการซึมเศร้า! บทบาทสำคัญของห้องสมุดชุมชนเพื่อสร้างสุขภาวะ
- สร้างเด็กรักการอ่าน สานรักนิรันดร์
- วัฒนธรรม+การอ่าน เทคนิควิธีการที่ไม่ลอง จะรู้ได้อย่างไร