ดรุณี เพลิดภูเขียว (2556) นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ทำการวิจัยเรื่องผลการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT เรื่องการอ่านและเขียนคำสระประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 16 คน ได้ผลการศึกษาว่าแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT เรื่องการอ่านและเขียนคำสระประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.21/81.77 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT เรื่องการอ่านและเขียนคำประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้านการอ่านและการเขียนมีค่าเท่ากับ 0.6111 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ชีวิตเป็นร้อยละ 61.11 กลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT เรื่องการอ่านและเขียนคำสระประสม มีความสามารถด้านการอ่านและความสามารถด้านการเขียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT เรื่องการอ่านและเขียนคำสระประสม มีความคงทนในการเรียนรู้ทางการเรียน
ดรุณี เพลิดภูเขียว. (2556). ผลการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT เรื่องการอ่านและเขียนคำสระประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. สารนิพนธ์ กศ.ม. (หลักสูตรและการสอน). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. อาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ : อาจารย์ประภัสนันท์ เพ่งกิจ.
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สนองตอบต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล ช่วยให้นักเรียนได้ฝึกและพัฒนาทักษะในด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น ผู้เรียนสามารถนำความรู้ความสามารถไปใช้ชีวิตประจำวันได้ การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT เรื่องการอ่านและการเขียนคำสระประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผล 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านและการเขียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านโจดกลาง อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 16 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามี 3 ชนิด คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT เรื่องการอ่านและเขียนคำสระประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ จำนวน 9 แผน 15 ชั่วโมง แบบประเมินความสามารถด้านการอ่าน จำนวน 30 คำ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.86 และแบบประเมินความสามารถด้านการเขียนโดยแบ่งเป็นเขียนตามคำบอกจำนวน 20 คำ และเรียงประโยค จำนวน 10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.69 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.76 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบวิลคอกชัน ( Wilcoxon Matched Paris Sided – Ranks test)
ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฎดังนี้
1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT เรื่องการอ่านและเขียนคำสระประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.21/81.77 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT เรื่องการอ่านและเขียนคำประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้านการอ่านและการเขียนมีค่าเท่ากับ 0.6111 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ชีวิตเป็นร้อยละ 61.11
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT เรื่องการอ่านและเขียนคำสระประสม มีความสามารถด้านการอ่านและความสามารถด้านการเขียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT เรื่องการอ่านและเขียนคำสระประสม มีความคงทนในการเรียนรู้ทางการเรียน
โดยสรุป แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT เรื่องการอ่านและเขียนคำสระประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ มีความคงทนในการเรียนรู้เป็นอย่างดี มีประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู ดังนั้น จึงควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน Reading Culture Promotion Program ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ส ส ส.)
ค้นหา
บทความงานวิจัย
หมวดหมู่
เรื่องผลการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT เรื่องการอ่านและเขียนคำสระประสม
แนะนำเมื่อ
06มี.ค. 58
0ความคิดเห็น
ข่าวสารที่เกียวข้อง
- ครบรอบ 2 ปี หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร ชวนอ่าน ‘1,009 เล่ม วรรณกรรมเกื้อกูลโลก เกื้อกูลมนุษย์’
- มิติใหม่ แพทย์จ่ายหนังสือแทนยาบำบัดอาการซึมเศร้า! บทบาทสำคัญของห้องสมุดชุมชนเพื่อสร้างสุขภาวะ
- สร้างเด็กรักการอ่าน สานรักนิรันดร์
- วัฒนธรรม+การอ่าน เทคนิควิธีการที่ไม่ลอง จะรู้ได้อย่างไร