มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน Reading Culture Promotion Program

เข้าสู่ระบบ
ลืมรหัสผ่าน

ค้นหา

บทความงานวิจัย

หมวดหมู่

เรื่องการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 6

           สุพัตรา โนนทิง (2556)  นักศึกษาปริญญาโท  สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ NHT กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 40 คน ผลการศึกษาพบว่าแผนการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ สาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.31/86.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.68495 กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
 
          สุพัตรา โนนทิง (2556). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ NHT . สารนิพนธ์ กศ.ม. (หลักสูตรและการสอน).  มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.  อาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ : อาจารย์อดุลย์ บุญโนนแต้.

         การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มร่วมมือ NHT สามารถพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ได้ดีของนักเรียนได้ดี การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมาย 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ สาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ NHT ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างคะแนนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านหนองผักแว่น จำนวน 40 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน มีคุณภาพในระดับเหมาะสมมาก แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.61 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (One Samples) และ t-test (Dependent samples)
ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฎดังนี้
1. แผนการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ สาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.31/86.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. แผนการจัดการเรียนรู้มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.68495
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
โดยสรุป แผนการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ NHT มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ช่วยให้นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ดีขึ้น สามารถนำความรู้ไปใช้เป็นแนวทางในการคิดวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ ได้

























แนะนำเมื่อ 06มี.ค. 58
0ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

 

 

กรุณา Login เข้าระบบก่อนแสดงความคิดเห็น หรือสมัครสมาชิกใหม่ คลิกที่นี่

 

 

จำนวนการเข้าชม: 13,356,971 ครั้ง