นิพพิทา ถาวรเศรษฐ (2545) นิสิตปริญญาโท คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการวิจัยเรื่องการเขียนของเด็กปฐมวัย: กรณีศึกษาในโรงเรียนที่ใช้แนวการศึกษาไฮสโคป และวอลดอร์ฟ ผู้ให้ข้อมูลคือ เด็กนักเรียนอายุ 3-8 ปี ครู ผู้บริหารและผู้ปกครองผลการวิจัยพบว่าโรงเรียนที่ใช้แนวการศึกษาไฮสโคป 1. แบบแผนการเขียนของเด็กปฐมวัย : พัฒนาการการรู้หนังสือ แบบแผนการเขียนของเด็กช่วงวัย 3-6 ปี มีขั้นตอนคือ 1) การขีดเขี่ยที่ไม่สื่อความหมายตามการรับรู้สิ่งแวดล้อม 2) ภาพวาดที่มีความหมาย และ 3) การเขียนแบบสื่อสาร 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเขียน อาทิ 1) แนวการสอนที่เอื้ออำนวยต่อกัน2) การเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัต 3) กิจกรรมการเขียนเกิดจากประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย 4) การจัดประสบการณ์การเขียนโดยประเมินจากพัฒนาการเด็ก สำหรับโรงเรียนที่ใช้แนวการศึกษาวอลดอร์ฟ 1. แบบแผนการเขียนของเด็กปฐมวัย : พัฒนาการการตระหนักรู้ตัวตนของตนเองแบบแผนการเขียนของเด็กช่วงวัย 3-6 ปี มีขั้นตอนคือ 1) การขีดเขี่ยวนเข้าข้างในเป็นวงกลม และภาพวงกลมที่มีสัญลักษณ์ 2) การวาดลายเส้น ภาพบันได ตาราง และ 3) การวาดภาพคนในลักษณะต่าง ๆ และสิ่งแวดล้อม 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเขียน อาทิ 1) ครูเป็นแบบอย่างของผู้ที่พัฒนาการตระหนักรู้ตัวตนของตนเองตามวัย 2) ครูใช้ภาษาเป็นสื่อเพื่อเข้าถึงสัจธรรมและคุณธรรม 3) ครูใช้ภาษาถูกต้องตามหลักเกณฑ์ 4) การเฝ้าสังเกตและพิจารณาการรู้ตัวตนของเด็ก
นิพพิทา ถาวรเศรษฐ. (2545). การเขียนของเด็กปฐมวัย: กรณีศึกษาในโรงเรียนที่ใช้แนวการศึกษาไฮสโคป และวอลดอร์ฟ. วิทยานิพนธ์ คม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อาจารย์ที่ปรึกษา: รศ.พูนสุข บุณย์สวัสดิ์.
กรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเขียนของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนที่ใช้แนวการศึกษาไฮสโคปและวอลดอร์ฟ ผู้ใช้ข้อมูลคือ เด็กนักเรียนอายุ 3-8 ปี ครู ผู้บริหารและผู้ปกครอง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการการสัมภาษณ์ และการศึกษาเอกสาร
ผลการวิจัยมีดังนี้
โรงเรียนที่ใช้แนวการศึกษาไฮสโคป
แบบแผนการเขียนของเด็กปฐมวัย : พัฒนาการการรู้หนังสือ แบบแผนการเขียนของเด็กช่วงวัย 3-6 ปี มีขั้นตอนคือ 1) การขีดเขี่ยที่ไม่สื่อความหมายตามการรับรู้สิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นการเรียนรู้การใช้สื่ออุปกรณ์ในการสร้างสัญลักษณ์ของเด็ก 2) ภาพวาดที่มีความหมาย ภาพคนเป็นภาพแรกที่เด็กสร้างสรรค์ขึ้น ซึ่งสะท้อนจากการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว และ 3) การเขียนแบบสื่อสาร ซึ่งผ่านกิจกรรมการเขียนที่หลากหลายเพื่อมุ่งสู่การเรียนรู้การเขียนด้วยตนเองของเด็ก
แบบแผนการเขียนของเด็กช่วงวัย 6-8 ปี มีขั้นตอนคือ 1) การเขียนเส้น13 เส้น ซึ่งเป็นองค์ประกอบย่อยของตัวอักษร และ 2) การประสมตัวอักษรเป็นคำ โดยผ่านการเรียนรู้แบบจำกฎการเขียนและการอ่าน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเขียน มีดังนี้ 1) แนวการสอนที่เอื้ออำนวยต่อกัน2) การเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย 3) กิจกรรมการเขียนเกิดจากประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย 4) การจัดประสบการณ์การเขียนโดยประเมินจากพัฒนาการเด็ก5) การจัดกิจกรรมที่ช่วยเตรียมความพร้อมด้านการเขียน 6) สภาพแวดล้อมที่พรั่งพร้อมอย่างมีความหมาย 7) การเป็นแบบอย่างทางภาษาเพื่อการสื่อสาร และ 8) บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
โรงเรียนที่ใช้แนวการศึกษาวอลดอร์ฟ
แบบแผนการเขียนของเด็กปฐมวัย : พัฒนาการการตระหนักรู้ตัวตนของตนเอง แบบแผนการเขียนของเด็กช่วงวัย 3-6 ปี มีขั้นตอนคือ 1) การขีดเขี่ยวนเข้าข้างในเป็นวงกลม และภาพวงกลมที่มีสัญลักษณ์ซึ่งสะท้อนการรู้จักตัวตนของเด็ก2) การวาดลายเส้น ภาพบันได ตาราง เป็นผลสะท้อนจากประสบการณ์ภายในและ 3) การวาดภาพคนในลักษณะต่าง ๆ และสิ่งแวดล้อม เป็นผลจากประสบการณ์และจินตนาการเป็นสำคัญ
แบบแผนการเขียนของเด็กช่วงวัย 6-8 ปี คือ การเขียนที่เกิดจากความรู้สึกพลังทางร่างกายผ่านจินตนาการ ความจำ และความคิด
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเขียน มีดังนี้ 1) ครูเป็นแบบอย่างของผู้ที่พัฒนาการตระหนักรู้ตัวตนของตนเองตามวัย 2) ครูใช้ภาษาเป็นสื่อเพื่อเข้าถึงสัจธรรมและคุณธรรม 3) ครูใช้ภาษาถูกต้องตามหลักเกณฑ์ เข้าใจธรรมชาติและพลังของภาษา และเข้าถึงสุนทรียะ 4) การเฝ้าสังเกตและพิจารณาการตระหนักรู้ตัวตนของเด็ก 5) ความมุ่งหมายของการศึกษาสู่ความสมดุล 6) การใช้จินตนาการผ่านวัสดุปลายเปิด